เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม
โลกของนาฬิกาปลอม
นาฬิกามีหลายตลาด ทั้งแบบที่เรียกว่าเป็น ตลาดลักชัวรี่, ตลาดวินเทจ แต่ถ้าเป็นตลาดนาฬิกาปลอมนั้นจะเรียกกันในวงการว่า “ตลาด Replica” ซึ่งคำๆ นี้ หากแปลออกมาเป็นภาษาไทยจะให้ความหมายว่า สำเนา, ของจำลอง หรือเรียกง่ายเข้าใจไม่ยากก็ ของก๊อปปี้ นั่นแหละ ซึ่งคำๆ นี้ทำให้มือใหม่ที่อยากเข้าสู่แวดวงตลาดนาฬิกามือสองต้องคิดหนัก เพราะหากดูขอแท้ของปลอมไม่เป็นมีหวังได้จับนาฬิกาของปลอมมาประดับข้อมือโดยไม่รู้ตัว สิ่งที่ Auction House อยากจะบอกคือ อย่าไปกลัว!! เพราะในโลกแห่งความจริงนั้น นาฬิกาแบรนด์ดังทั้งหลายไม่ได้ปลอมกันได้ง่ายๆ เพราะปลอมยังไงก็ดูออกอย่างแน่นอน พอได้ยินแบบนี้แล้วมือใหม่ทั้งหลายก็เกิดคำถามต่ออีกว่า
คำตอบคือ ผู้ผลิตของปลอม ตั้งใจปลอมเพื่อขายคนที่จะซื้อของปลอมใส่ ฉะนั้นนาฬิกาปลอมส่วนใหญ่จึงไม่ได้ตั้งใจทำออกมาเพื่อหลอกขายแทนของแท้ เนื่องจากไม่สามารถทำได้ เพราะราคต้นทุนในการผลิตเป็นข้อจำกัด ยิ่งถ้าอยากจะทำให้กลไกหรือเครื่องในตัวนาฬิกาที่เรียกว่ากัน Movement ให้มีรายละเอียดใกล้เคียงกับของแท้นั้นไม่มีทางทำได้เลย ยังไม่นับการใช้งานฟังก์ชั่นหรือระบบต่าง ๆ ในเรือนเวลาที่ไม่สามารถทำให้ใช้ได้แบบของแท้เป๊ะๆ สิ่งที่ผู้ผลิตนาฬิกาปลอมทำได้เต็มที่ คือ ตั้งใจทำเพียงแค่หน้าปัดให้ดูเหมือนของแท้!! ฉะนั้นเมื่อความตั้งใจของคนซื้อมาเจอกับร้านที่จำหน่ายก็แสดงเจนจำนงค์อย่างชัดเจนว่า ตัวเองขายของปลอมอย่างชัดเจน ทำไมนาฬิกาปลอมจะขายไม่ได้ จึงไม่แปลกที่มือใหม่ในตลาดนาฬิกามือสองที่ไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้จะเกิดอาการลังเลที่จะก้าวเข้ามาอย่างเต็มตัว ถ้าอย่างนั้นมาเก็บเกี่ยวข้อมูลเรื่องนาฬิกาปลอมจาก Auction House ไปเพิ่มความมั่นใจสักหน่อย เริ่มกันที่ข้อมูลง่ายๆ กันก่อน
Auction House ขอเฉลยตรงนี้เลยว่า Top 3 ได้แก่ Rolex, Patek Philippe และ Audemars Piguet ซึ่ง 2 แบรนด์หลัง เป็น Holy Trinity และ Holy Trinity จะทำ Finish แบบ “Haute De Gamme” หรือ “ที่สุดของที่สุด” ทำให้ 2 แบรนด์นี้ไม่เคยมีเรื่องเอาของปลอมมาหลอกขายได้สำเร็จสักที เพราะความที่ดูง่ายมากเลยหลอกได้แต่มือใหม่หรือคนไม่รู้จริงๆ เท่านั้น แต่สำหรับ Rolex คือแบรนด์ยอดฮิตที่ไม่มีฟังก์ชั่นอะไรมากมาก แถมยังไม่มี Movement ที่ซับซ้อน และที่สำคัญไม่มี finish movement อย่าง Holy trinity จึงไม่มีฝาหลังที่เป็นกระจกทำให้มองไม่เห็นเครื่อง!! ฉะนั้นหากจะปลอมก้ปลอมได้ง่ายกว่าอีกสองแบรนด์
อ่านถึงตรงนี้อย่าเพิ่งกังวล เพราะเรากำลังจะบอกให้คุณรู้ถึงเทคนิคการดูนาฬิกาของแท้ของปลอมง่ายๆ ในเบื้องต้นด้วยตัวเอง
“ดูที่ตัวเรือนภายนอก (Case/ Dial)”
เคยได้ยินประโยคที่ว่า “เห็นก็รู้ว่าของปลอมตั้งแต่ร้อยเมตร” ไหม นี่คือเรื่องจริงที่แม้จะเป็นมือใหม่เพิ่งหัดเข้าวงการก็พอจะดูกันออก เพราะความเนี้ยบของนาฬิกาของแท้เมื่อเทียบกับของปลอมนั้นต่างกันลิบลับ เนื่องจากนาฬิกาเป็นเครื่องประดับที่มีรายละเอียดในการสร้างสรรค์ตัวเรือนที่พิถีพิถันมากจนสามารถพูดได้เต็มปากว่า นาฬิกาคือเครื่องประดับที่ขายความเนี้ยบและเฟอร์เฟคในทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้, การเก็บงานของตัวเรือน, ชนิดตัวอักษรและการจัดวางบนหน้าปัด, ความเงาของตัวน็อต, ความเสมอของเส้น etc ดังนั้นถ้าคิดจะปลอมจนเป๊ะต้องใช้ต้นทุนสูงมากในทุกองค์ประกอบ
ฉะนั้นบริษัทที่จะผลิตของปลอมจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างก่อนตัดสินใจผลิต โดยเฉพาะในเรื่องของความคุ้มค่ากับเงินทุนที่จะลงไปและกำไรที่จะได้กลับมา เช่น รุ่นที่จะผลิตของปลอมนั้นเป็นรุ่นยอดนิยมที่มั่นใจได้ว่าผลิตมาเท่าไหร่ยังไงก็ขายได้หรือไม่ ผลิตในปริมาณเท่าไหร่ต้นทุนจึงจะลดลง รวมถึงรุ่นไหนจะมีคนยอมจ่ายตามราคาเกรดงานก๊อปปี้บ้าง ซึ่งผู้ผลิตนาฬิกาปลอมส่วนใหญ่ ไม่เลือกลงทุนไปกับความเนี้ยบอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลที่เราบอกไปแล้วว่า คนที่ซื้อของปลอมส่วนใหญ่ไม่ได้โดนหลอกขาย แต่ตั้งใจซื้อของปลอมใส่!! และอย่าลืมว่า ลูกค้ากลุ่มนี้อาจไม่เคยได้จับของแท้มาก่อน จึงไม่ได้สนใจเรื่องความเนี้ยบของตัวเรือนสักเท่าไหร่ (ประมาณว่ามองระยะไกลๆ บนข้อมือแล้วคล้ายๆ ก็โอเค) จึงเป็นคำตอบที่สนับสนุนการตัดสินใจได้ว่า บริษัทผลิตของปลอมไม่จำเป็นต้องลงทุนหรือพยายามทำนาฬิกาของปลอมให้เหมือนจริงแบบเป๊ะๆ
ยกเว้นเพียงแค่แบรนด์เดียวที่บริษัทผู้ผลิตนาฬิกาปลอมยอมทุ่มทุนมากกว่าแบรนด์อื่นในการจ่ายเงินเพื่อเก็บรายละเอียด นั่นคือ แบรนด์ Rolex ด้วยเหตุผลว่า คนยอมจ่ายเงินให้กับ Rolex ปลอมในราคาหลักหมื่น และเพราะเป็นแบรนด์ที่อยู่ในความนิยมตลอดกาล ทำให้มีฐานการผลิตสูง ลดต้นทุนไปได้มาก โดยเฉพาะในรุ่น Rolex Submariner ที่ไม่ได้ใช้วัสดุมีค่าเช่นทองคำ สามารถทำให้มีหน้าตาใกล้เคียงกับของจริงได้ไม่ยาก และอาจจะทำให้มือใหม่สับสน ซึ่งหากคุณเป็นมือใหม่ที่รักจะเล่นนาฬิกามือสอง แต่ไม่มอง Rolex ก็อย่ากังวล!!
“ความเปะของตัวเครื่องกลไกภายใน (Movement)”
หากรู้สึกการดูที่ตัวเรือนยังไม่สามารถแยกได้ว่า นาฬิกาตรงหน้าเป็นของแท้หรือของจริง อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้มือใหม่จับผิดได้มากขึ้นคือ “Movement” เรียกได้ว่าเรื่อง Movement คือหัวใจหลักของนาฬิกาเลยก็ว่าได้ เปรียบเทียบง่ายๆ แบบใกล้ตัว คือ เวลาไปช้อปมือถือปลอม อาจปลอมที่ภายนอกได้เป๊ะๆ แต่พอเปิดเครื่องขึ้นมาเท่านั้นแหละ จะเห็นความต่างอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นไอคอนที่หน้าจอ ฟอนด์ที่ปรากฏให้เห็นจะมองยังไงก็ไม่เหมือน นาฬิกาก็เช่นกันตัว Movement แต่ละตัวมีความซับซ้อนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะเป็น Chronograph, GMT หรือกลุ่ม Grand Complication อย่าง Perpetual Calendar ซึ่งแต่ละตัวล้วนประกอบไปตัวชิ้นส่วนตั้งแต่หลักร้อยชิ้นไปถึงหลักพันชิ้น
และถ้าคุณคิดว่า Movement ของนาฬิกาสร้างได้ไม่ยาก ขอให้คิดใหม่ เพราะการสร้าง Movement ออกมาแต่ละตัวต้องใช้ทรัพยากรทางด้านวิศวะและองค์ความรู้เฉพาะทางเป็นอย่างมาก อย่าง JLC ที่มีชื่อเรื่องผลิต movement มีประวัติยาวนานเกือบ 200 ปี ก็จะแชร์ความรู้หรือขาย Movement ให้เฉพาะในกลุ่มเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ของปลอมจะสามารถก๊อปปี้ Movement ได้เหมือนของแท้ รวมถึงไม่มีโอกาสซื้อ Movement ของจริงจากบริษัทแม่มาผลิตต่อได้ ผู้ผลิตนาฬิกาปลอมทั้งหลายจึงมักจะซ่อน Movement โดยการใช้ฝาหลังปิดทึบหรือใช้แค่ Movement ราคาถูกที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป
ซึ่งเรื่องนี้มือใหม่เช็คได้ด้วยตัวเองไม่ยาก แค่พลิกตัวเรือนขึ้นมาดูด้านหลังก็จะเห็นหน้าตาของเครื่องที่ต่างกันระหว่างของแท้และของปลอม นอกจากนี้ หากได้ทดลองใช้งานจะพบว่า ฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ติดมากับนาฬิกาปลอมนั้น ใช้งานไม่ได้จริงยกเว้นกับแบรนด์ Rolex ที่ Movement ไม่ซับซ้อน ไม่มี finish movement อย่าง Holy trinity จึงไม่มีฝาหลังที่เป็นกระจกทำให้มองไม่เห็นเครื่อง!! ฉะนั้นทางเดียวที่จะรอดจากคำว่าปลอม คือพาเรือนที่เล็งไว้ไปให้ร้านเปิดฝาหลังเพื่อค้นหาความจริง หรือถ้าเป็นของมือสองที่สภาพยังเป๊ะจนคุณไม่อยากเปิดฝาหลังก็สามารถนำนาฬิกาไปเช็ค Serial Number กับช้อปของแบรนด์ได้เลย
“ย้ำความมั่นใจด้วยขั้นตอนเก็บงาน”
ที่สุดของการตัดสินว่านาฬิกาเรือนที่เล็งอยู่เป็นของแท้หรือของปลอมอยู่ที่ขั้นตอนสุดท้ายของการเก็บงานที่เรียกว่า Finishing ซึ่งการจบงานนาฬิกาในหลายแบรนด์ต่างกันไป ความเนี้ยบเป๊ะถือเป็นตัวตัดสินมูลค่าของนาฬิกาแต่ละแบรนด์เลยก็ว่าได้ เพราะ Finishing ไม่ได้ใช้เพียงเครื่องจักรทำให้จบงาน แต่ผสานฝีมือมนุษย์อย่างเราๆ นี่แหละที่เก็บความเนี้ยบจนถึงระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นระดับ Holy Trinity หลายคนยอมจ่ายแพงขึ้น เพราะถือว่าเป็นงานศิลปะอย่าง A. Lange & Söhne ที่ใส่งานแกะสลักลงไปใน Movement แต่ละตัว ก่อให้เกิดเป็นความโดดเด่นและลักษณะเฉพาะตัวของแบรนด์ หรืออย่าง Patek Philippe ที่แต่ละชิ้นส่วนต้องผ่านงาน finishing ไม่ต่ำกว่า 100 ขั้นตอน เพราะฉะนั้นสำหรับของปลอม งาน finish ด้วยมือนั้นเป็นไปไม่ได้เลย จะใช้เครื่องมืออะไรมาช่วยก็เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีเครื่องมือใดสามารถทำได้ ซึ่งหากคิดจะทำ ก็ล้วนเป็นต้นทุนระดับสูงทั้งนั้น ฉะนั้นงาน Replica จึงไม่มีใครทำอย่างแน่นอน
สุดท้ายนี้... Auction House ยังคงขอยืนยันว่า “นาฬิกาปลอมไม่ได้หน้ากลัวอย่างที่คิด” เพราะมีความต่างที่มองเห็นได้ด้วยตา สัมผัสได้โดยตรงแบบง่ายๆ และขอให้คุณระลึกอยู่เสมอว่า นาฬิกา hi-end ทุกเรือนขายความเพอร์เฟค หากรู้สึกสะดุดใจกับรายละเอียดใดๆ บนตัวเรือนละก็ ให้สงสัยว่าปลอมไว้ก่อน แล้วพานาฬิกาต้องสงสัยเรือนนั้นเข้าร้านที่มีบริการตรวจสอบนาฬิกาแท้ปลอม หรือตรงไปยังช้อปของแบรนด์นั้นๆ ได้เลย เพราะนาฬิกามาพร้อมใบรับรองที่คุณสามารถเช็ค Serial Number ในระบบได้ทันทีว่า มีเรือนนี้ในระบบหรือไม่ เพียงเท่านั้น คุณก็จะรู้คำตอบว่า คุณโดนหลอกให้เดินทางเข้าสู่โลกแห่งนาฬิกาปลอมหรือเปล่า
ตรวจสอบ ราคานาฬิกา Rolex มือสอง ได้ที่นี่
ตรวจสอบ ราคานาฬิกา Patek Philippe มือสอง ได้ที่นี่
ตรวจสอบ ราคานาฬิกา Audemars Piguet (AP) มือสอง ได้ที่นี่
Auction House เว็บไซต์ ซื้อ - ขาย นาฬิกามือสอง ของแท้ ตรวจสอบราคา Rolex, Patek philippe, Audemars Piguet (AP), Omega, Panerai, IWC, Hublot, Cartier, Franck muller ได้ที่นี่
RELATED POSTS
Our recent work